Monday 7 October 2024 | 12 : 28 am

โรคมือเท้าปากในเด็กระบาดหนัก พ่อแม่ตั้งรับให้ดี! แพทย์เตือนช่วงหน้าฝน ‘โรคมือเท้าปาก’ ระบาดหนัก มีโอกาสลุกลามเป็นเยื้อหุ้มสมองอักเสบ

ฤดูฝนสำหรับผู้ใหญ่ส่วนมากอาจหมายถึงการเดินทางไปไหนมาไหนลำบาก รถติด น้ำท่วม และปัญหาจุกจิกกวนใจอื่นๆ อีกมากมาย แต่สำหรับเด็กเล็กๆ นั่นหมายถึงช่วงเวลาอันตรายที่อีกหนึ่งโรคร้ายกำลังจะกลับมาระบาดหนักอีกครั้ง ซึ่งโรคที่ว่านั่นก็คือ “โรคมือเท้าปาก”

นพ.ฐากูร วิริยะชัย (หมอเต่า)

โรคมือเท้าปากเรียกได้ว่าเป็นโรคประจำหน้าฝนเลยก็ว่าได้ แถมเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็กที่ติดจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ผื่น ตุ่มน้ำใสของเพื่อนๆ ที่โรงเรียนในช่วงหน้าฝน วันนี้นพ. ฐากูร วิริยะชัย หรือ หมอเต่า กุมารแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อในเด็ก โรงพยาบาลวิมุต จะมาเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกวัยอนุบาลถึงประถมต้นให้ระวังโรคนี้ไว้ให้ดี เพราะในเคสที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจลุกลามจนกลายเป็นโรคสมองอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอีกเสบ ได้เลยทีเดียว

“โรคมือเท้าปากในประเทศไทยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหลักๆ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Enterovirus (EV) และกลุ่ม Coxsackie virus” หมอเต่า อธิบาย “จริงๆ โรคนี้สามารถหายเองได้ในกลุ่มคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้ 3-5 วัน เกิดแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว และเป็นผื่นประมาณ 7-10 วัน หลังจากนั้นอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ก็พบว่ามีบางเคสในเด็กเล็กที่ตัวโรคสร้างความรุนแรงจนผู้ป่วยมีอาการหนัก ที่พบเจอได้คือ โรคสมองอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเชื้อกลุ่มที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงส่วนใหญ่มักจะเป็นเชื้อ EV

แม้โรคมือเท้าปากจะถือเป็นโรคที่ไม่รุนแรงมาก แต่ถ้าเด็กๆ เกิดเป็นแล้ว ก็ย่อมเสียเวลาจากการต้องหยุดเรียน ไม่ได้เล่นสนุกและใช้ชีวิตเพื่อการเรียนรู้โลกกว้างอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนพ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องเสียเวลาคอยดูแลลูกๆ เพิ่มอีก แถมเด็กบางคนยังอาจเจอแจ๊กพ็อตเกิดภาวะแทรกซ้อนลุกลามได้

“ปัจจุบัน เรามีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากที่เกิดจากเชื้อ EV แล้ว ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการได้ถึง 97% และป้องกันการเกิดอาการรุนแรงของโรคได้ 100% โดยเด็กสามารถฉีดตั้งแต่อายุ 6 เดือน–5 ปี สำหรับเด็กที่เคยเป็นโรคนี้แล้วก็สามารถมาฉีดซ้ำได้หลังจากหายแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ถึงอย่างนั้นแล้ว วัคซีนที่ใช้อยู่ก็ป้องกันเฉพาะเชื้อกลุ่ม EV แต่ยังไม่ป้องกันกลุ่ม Coxsackie virus ดังนั้น แม้จะได้รับวัคซีนไปแล้ว หมอก็ยังแนะนำให้น้องๆ รักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ล้างมือบ่อยๆ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด” หมอเต่า เสริม

วัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV ควรฉีด 2 เข็ม ระยะห่างระหว่างเข็มที่หนึ่งกับเข็มที่สองคือ 1 เดือนโดยประมาณ งานวิจัยของวัคซีนตัวนี้ยังระบุว่าหลังจากฉีดวัคซีน 2 เข็มไปแล้วอย่างน้อยนาน 24 เดือน ก็ยังมีภูมิคุ้มกันในระดับที่ป้องกันโรคได้อยู่ เรียกว่าฉีดครบคอร์สก็อุ่นใจไปได้ยาวๆ ถึง 2 ปีเลยทีเดียว

“สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่กังวลเรื่องผลข้างเคียงวัคซีนในเด็กเล็ก ขอให้เบาใจได้ เพราะวัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนเชื้อตายซึ่งเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กเช่นเดียวกับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี ดังนั้น ตัวนี้จึงแทบไม่มีข้อห้ามเลย เพราะเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบ โรคหัวใจ ก็สามารถฉีดได้ นอกจากเด็กที่มีโรคค่อนข้างรุนแรงหรือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจต้องปรึกษาหมอก่อน ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคืออาการไข้ซึ่งมักเกิดในเด็กประมาณ 30% ที่รับวัคซีน แต่ก็สามารถหายได้ภายใน 1-2 วัน” นพ.ฐากูร วิริยะชัย หรือ หมอเต่า  กล่าวสรุป

ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลวิมุต มีบริการวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากในเด็กจากเชื้อไวรัส EV71 คอร์ส 2 เข็ม สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี และพิเศษสุด! โรงพยาบาลวิมุต ขอเป็นส่วนหนึ่งในการต้านโรคมือเท้าปากในเด็กช่วงหน้าฝน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความอุ่นใจแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ด้วยโปรโมชั่นต้อนรับหน้าฝนเดือนกันยายน ลดราคาคอร์สวัคซีนจาก 7,600 เหลือเพียง 5,990 บาท (ราคาสุทธิ) สามารถใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ถึงสิ้นปี 2565 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์กุมารเวช ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต โทร.02-076-0038 เวลา 8.00–20.00 น. ทุกวัน

สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับบริการรักษาโรคอื่นๆ ของโรงพยาบาลวิมุต ได้ที่เว็บไซต์ www.vimut.com เฟซบุ๊ก :www.facebook.com/vimuthospital อินสตาแกรม : vimut_hospital ไลน์ : @vimuthospital TikTok : @vimuthospital  Youtube : www.youtube.com/c/ViMUTHospital หรือติดต่อเราได้ที่ โทร.02-079-0000