Friday 26 April 2024 | 2 : 54 am

เคล็ดลับความสำเร็จ ในการสร้างองค์กรของ Microsoft

ต้องย้อนไปตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงองค์กรของไมโครซอฟต์ (Microsoft) นั้น เริ่มต้นเมื่อปี 2014 ที่ สัตยา เนเดลลา (Satya Nadella) ได้ก้าวขึ้นมารับตำแหน่ง CEO ต่อจากบิล เกตส์ (Bill Gates) และสตีฟ บอลล์เมอร์ (Steve Ballmer)

โดยสาเหตุหลักที่สัตยาต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กร ก็เพราะว่า เป้าหมายเดิมของไมโครซอฟต์ต้องการ “เป็นคอมพิวเตอร์บนทุกโต๊ะทำงานและทุกบ้าน” นั้น ได้ล้าสมัยไปแล้ว เพราะปัจจุบัน ทุกครัวเรือนและสถานที่ทำงาน ต่างมีสินค้าของไมโครซอฟต์กันหมด รวมถึงคู่แข่ง หรือเจ้าตลาดใหม่ๆ อย่างแอมะซอน (Amazon), กูเกิล (Google) และแอปเปิล (Apple) ด้วย

ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนแนวคิด รูปแบบ และวัฒนธรรมองค์กร เนเดลลาเชื่อว่า ไมโครซอฟต์จะต้องร่วงลงจากจุดสูงสุดของวงการนี้ในเร็ววันแน่นอน

ทำไมการสร้างคนถึงสำคัญ…….

อ้างอิงบทความจาก ซีแอค (SEAC) ผู้นำด้านการพัฒนาบุคลากรและองค์กร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในยุคของเนเดลลา ค่านิยม แนวคิด และรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กร จะไม่เน้นการผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ไมโครซอฟต์จะต้องเปลี่ยนแปลงบริษัทตัวเองไปเป็นบริษัทที่เน้นในการเพิ่มขีดความสามารถ (Empower) ให้กับผู้คนทั่วทั้งโลกมากยิ่งขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เนเดลลาเชื่อในแนวคิดนี้ เพราะเขาเชื่อว่าทุกคนสามารถพัฒนาทักษะให้ตัวเองได้จากการทำงาน และการศึกษาสิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติม และนี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเริ่มจากวิธีคิดอย่าง ‘Growth Mindset’

Growth Mindset….

นี่คือสิ่งแรกที่เนเดลลา ได้เริ่มปลูกฝังให้กับผู้คนในองค์กร การจะคราฟต์คนขึ้นมาไม่ใช่แค่สั่ง แต่ต้องสร้างแนวคิด “การเรียนรู้จากทุกอย่าง” และทำให้พนักงานรับรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร และอยากได้อะไรเพิ่มเติมจากเรา

Empathy….

นอกจากนี้ สิ่งที่เนเดลลา ได้ปลูกฝังเพิ่มเติม ก็คือเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมแห่งความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพื่อแก้ปัญหาการเมืองภายในองค์กร และการแข่งขันระหว่างทีมจากยุคก่อนหน้า

ซึ่งวัฒนธรรม Empathy ก็ได้ถูกนำมาปรับใช้กับเรื่องของการสื่อสารในองค์กร และรูปแบบการทำงานของไมโครซอฟต์โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม ที่เน้นการสร้างความสำเร็จจากการร่วมแรงร่วมใจกันของทุกคน ไม่ใช่แค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ซึ่งค่านิยมทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้พนักงานเห็นความสำคัญ ในการเห็นอกเห็นใจต่อผู้คนในองค์กรมากยิ่งขึ้น

จากการเปลี่ยนแปลงด้านวิสัยทัศน์ และวัฒนธรรมองค์กร ทำให้ไมโครซอฟต์ในยุคของเนเดลลาได้ขับเคลื่อนผ่านยุคแห่งความท้าทายทางเทคโนโลยีมาได้ พร้อมกับตอบตัวเองได้ว่า จริงๆ แล้ว “ไมโครซอฟต์มีตัวตนอยู่เพื่ออะไร”

หลังการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ไมโครซอฟต์สามารถก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ด้วยมูลค่าทางการตลาดกว่า 1,359 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แซงหน้าบริษัทคู่แข่งคนสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นไปตามยุคสมัยนั้น คือหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้

ซึ่งการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง ล้วนต้องมีลำดับขั้นในการลงมือทำอยู่เสมอ สำหรับองค์กรไทยที่อยากจะเริ่มในการปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรให้เติบโตไปพร้อมกับยุคสมัยนั้น SEAC ขอแนะนำให้เริ่มต้นจาก

1) พยายามทำความเข้าใจ ว่าทำไมวัฒนธรรมองค์กรของคุณถึงต้องเปลี่ยนแปลงไป หากสังเกตจากกรณีของไมโครซอฟต์จะเห็นได้ว่า เนเดลลาพยายามทำความเข้าใจถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะส่งผลต่อภาพรวมของระบบการทำงาน และค่านิยมในองค์กร ก่อนที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และแนวคิดอื่นๆ เพื่ออนาคตที่ดี

2) เตรียมพร้อมทางด้านทักษะให้กับคนในองค์กร โดยเฉพาะในด้าน Soft Skill ที่ถือว่าจำเป็นอย่างมาก เพราะการที่ผู้คนมีแนวคิด และทักษะที่พร้อม จะช่วยทำให้เกิดกระบวนการ Transformation แก่คนทั้งองค์กรได้ง่ายขึ้น

จะเห็นได้ว่าพวกเขาเริ่มปลูกฝัง Soft Skill ต่างๆ ให้กับพนักงานก่อน ไม่ว่าจะเป็นการสอนพนักงานทุกคนให้รู้จักแนวคิดของ Growth Mindset เพื่อสู้กับอุปสรรคในการทำงานรูปแบบใหม่ๆ หรือการปลูกฝังเรื่อง Empathy เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจ และนำไปสู่การสร้างรูปแบบของ Collaboration และ Outward Mindset สำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างไร้ปัญหา ซึ่งส่งผลถึงบุคลากรระดับผู้นำ ให้เข้าใจถึงวิธีการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) การเพิ่มขีดความสามารถ (Empower) และการมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน (Engagement)

3) นอกเหนือจากนี้ องค์กรต่างๆ ควรที่จะต้องเติมทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นให้กับบุคลากรของตัวเองด้วย เพื่อช่วยเสริมความรู้ และความเข้าใจในการทำงาน ให้องค์กรเดินหน้าไปในทิศทางใหม่ๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับกรณีของไมโครซอฟต์ก็จะเห็นได้ว่า เนเดลลาพยายามที่จะให้แนวคิดแห่งการ “เรียนรู้จากทุกอย่าง” (Learnitall) ให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อให้พนักงานอยากที่จะขวนขวายในการเติมเต็มทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ เพราะทุกขั้นตอนล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงจะสร้างความหมายครั้งใหม่ก็เป็นเรื่องดีที่จะลงทุน

สำนักงานสลากฯ เปิดตัว โครงการ SEED PROJECT ปี 4 ‘สร้างผู้นำเยาวชน พาท้องถิ่นสู่สากล’

พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือ จีแอลโอ เดิน...