Wednesday 24 April 2024 | 7 : 33 am

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ภัยเงียบคนไทยสะท้อนในไลฟ์สไตล์

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยง เลี่ยงโรคได้ด้วยตัวเรา

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Non-communicable diseases (NCDs) เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยเป็นโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตปีละกว่า 300,000 คน และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

โรคกลุ่ม NCDs (Non-communicable diseases) คือโรคที่ไม่ติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส คลุกคลี หรือมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ เพราะโรคของกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค โรคในกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การเจริญเติบโตของโรคจะค่อยๆ สะสมอาการทีละนิด ค่อยๆ เกิดและค่อยๆ ทวีความรุนแรง สุดท้ายจะเกิดอาการเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้องและทันเวลา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง อย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้องรัง โรคตับแข็ง และโรคเบาหวาน

พฤติกรรมเสี่ยง ตัวการก่อโรค NCDs

สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้น คนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ

ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงโรค NCDs

การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้

-หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง

-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง

-งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

-งดสูบบุหรี่

-พักผ่อนให้เพียงพอ

-ผ่อนคลายความเครียด

-ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

-รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

นอกจากการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตข้างต้นแล้ว การเช็คสุขภาพตัวเองอยู่เสมอก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม “ซีเมท เครื่องวัดคลื่นหัวใจไฟฟ้าส่วนบุคคล” เป็นเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจขนาดพกพาที่สามารถช่วยดูแลสุขภาพหัวใจ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ด้วยขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ใช้ง่าย พกพาสะดวก ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงจากพฤติกรรมสามารถที่จะตรวจสุขภาพเบื้องต้นได้ในทุกที่ พร้อมเชื่อมต่อกับ Application บนสมาร์ทโฟน และแสดงผลการตรวจเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 6 Leads, การวัดความดัน, วัดความเครียด รวมทั้งให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ใช้นำไปปฏิบัติในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่มีชีวิตเร่งรีบ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินทางไปโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ในการเก็บข้อมูลสุขภาพหัวใจเพื่อส่งให้แพทย์ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และการใช้บริการกับทางโรงพยาบาลเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด โทร : 091-865-9642 และ  www.cmatethailand.com

สำนักงานสลากฯ เปิดตัว โครงการ SEED PROJECT ปี 4 ‘สร้างผู้นำเยาวชน พาท้องถิ่นสู่สากล’

พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือ จีแอลโอ เดิน...