Thursday 25 April 2024 | 8 : 41 pm

มหาอำนาจด้านงานศิลป์ : ‘ฮ่องกง’ ทะยานสู่อนาคตด้วย ‘ดิจิทัลอาร์ต’ เปิดพื้นที่จัดนิทรรศการ NFT ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

แม้ว่าอุตสาหกรรมศิลปะต้องประสบกับความท้าทายต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด ตลาดงานศิลปะในเอเชียกลับแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ดี โดย ‘ฮ่องกง’ ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางศิลปะและวัฒนธรรมแห่งภูมิภาค เฉิดฉายและโดดเด่นด้วยกิจกรรมศิลปะ นิทรรศการ รวมไปถึงงานประมูลที่สามารถจัดขึ้นได้อย่างปลอดภัยตลอดช่วงที่ผ่านมา งานศิลปะในฮ่องกงจึงเรียกได้ว่าอยู่ในขาขึ้นอย่างเต็มที่

ความสำเร็จของฮ่องกงในฐานะ “มหาอำนาจงานศิลป์”

เพื่อเป็นการเสริมทัพอีเวนต์งานศิลป์ที่เริ่มคึกคักมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม การท่องเที่ยวฮ่องกง (Hong Kong Tourism Board: HKTB) ได้เปิดตัว แคมเปญ Arts in Hong Kong ซึ่งเป็นแคมเปญที่ครอบคลุมระยะเวลาหนึ่งปีเพื่อแสดงให้ผู้ชมทั่วโลกได้ประจักษ์ถึงความน่าดึงดูดใจที่ยั่งยืนและไม่ธรรมดาของ ‘ฮ่องกง’ ในฐานะศูนย์กลางศิลปะและวัฒนธรรม แคมเปญนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับโปรไฟล์ระหว่างประเทศของฮ่องกงให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยนำเสนอศิลปะชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบเชิงลึก รวมไปถึงเปิดประสบการณ์เทคโนโลยีศิลปะเชิงโต้ตอบ (Interactive Art Tech) เพื่อพาชาวเมืองและผู้มาเยือนร่วมทำความรู้จักฮ่องกงใหม่อีกครั้งผ่านมุมมองทางวัฒนธรรม

นำทัพความสำเร็จด้วยยอดรายได้ที่แข็งแกร่งจากงานยักษ์ใหญ่อย่าง Art Basel Hong Kong งานประมูล Christie’s Hong Kong Spring Auctions และเสริมทัพด้วยงานพิเศษ อย่าง French May และ Art Central ถือได้ว่าอีเวนต์ศิลปะได้รับการสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากทุกภาคส่วนและกลุ่มตลาดเป็นอย่างดี นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่เพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่นาน อย่าง ย่านวัฒนธรรมเกาลูนตะวันตก พิพิธภัณฑ์ M+ และพิพิธภัณฑ์พระราชวังฮ่องกง (Hong Kong Palace Museum) ยังช่วยส่งเสริมจุดยืนของฮ่องกงในฐานะมหาอำนาจด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่ดึงดูดนักลงทุนและธุรกิจศิลปะจากทั่วโลก

ผลงาน ‘The Shape of Light’ โดย Ellen Pau ฉายบนจอ M+ Facade ขนาดยักษ์ ณ ฮ่องกง

ดิจิทัลอาร์ตในฮ่องกง: นิทรรศการ NFT ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

ดิจิทัลอาร์ต ซึ่งเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่งที่เคยต้องเผชิญกับเส้นทางอันไม่ค่อยสวยหรูนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้กลับมาเฉิดฉายอย่างเด่นชัดในอีเวนต์ศิลปะหลายงาน พร้อมกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นในงานศิลป์แบบดิจิทัลในปีนี้ ทั้ง พิพิธภัณฑ์ศิลปะฮ่องกง (Hong Kong Museum of Art) และงาน Affordable Art Fair ที่กำลังจะมีขึ้น ก็ได้มีการผนวกรวมชิ้นงานศิลปะดิจิทัลเข้ามามากขึ้นตามกระแสความนิยม โดยมีชิ้นงานที่สะดุดตาที่สุดจากงาน Art Basel ก็คือ ผลงาน ‘The Shape of Light’ ของผู้บุกเบิกภาพเคลื่อนไหวจากฮ่องกง Ellen Pau จากการคอมมิชชันร่วมกันระหว่าง Art Basel และ M+ และได้รับการสนับสนุนจาก UBS นับว่าเป็นโปรเจคใหญ่ครั้งแรก ซึ่งฉายบนจอ LED ขนาดยักษ์หน้าอาคาร  M+

ในฐานะศูนย์กลางศิลปะและวัฒนธรรมชั้นนำ ฮ่องกงยังเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีศิลปะ ด้วยการสนับสนุนเทรนด์ศิลปะใหม่ ๆ เช่น NFT และให้พื้นที่แสดงความสามารถแก่พรสวรรค์ที่หลากหลาย

และแค่ในปีนี้ ทางฮ่องกงก็ได้จัดงานที่เกี่ยวข้องกับ NFT กว่า 10 งาน ไม่ว่าจะเป็น “A Woman’s World” ครั้งแรกในเอเชีย ซึ่งจัดแสดงศิลปะ NFT ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินหญิงในฮ่องกง ไปจนถึง นิทรรศการ NFT ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย “ARTAVERSE” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจัดแสดงผลงานมากกว่า 100 ราย สู่ “METAVISION” ของห้าง K11 MUSEA นิทรรศการครั้งใหญ่ที่รวมงาน NFT กว่า 200 งานไว้รอบๆ ตัวห้าง

ผลงาน MOAR โดย Joan Cornellà ฉายบนจอภาพ (ที่มาภาพ: K11 Musea)

Derry Ainsworth ศิลปิน NFT ในฮ่องกงและ Creative Director ของ Digital Art Fair Asia หวังที่จะปลูกฝังและสร้างแรงบันดาลใจให้นักสะสมงานศิลปะรุ่นใหม่หันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสัมผัสความงามของศิลปะและวัฒนธรรม

“ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า ศิลปะ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนมีคุณค่าเสมอ ไม่ว่าจะเป็น NFT ดิจิทัลหรือภาพวาดบนแผ่นกระดาษ ในปัจจุบันนี้ ผู้คนต่างให้ความสนใจอย่างมากกับงาน NFT เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นและเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่ให้ผู้คนได้สะสมและสัมผัสกับงานศิลปะ นอกจากนี้ ศิลปะ NFT ยังเป็นประโยชน์ต่อทั้งศิลปินและนักสะสมด้วยการจำหน่ายแบบ Secondary Sales ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีความปลอดภัย และให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ” Derry Ainsworth กล่าว

Derry Ainsworth หนึ่งใน Hong Kong Super Fan หรือกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ที่มีความสนใจในฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้ที่ชื่นชอบค้นหาแรงบันดาลใจจากตลาด ตัวอาคาร และโดยเฉพาะถนนที่มีแสงไฟนีออนสว่างไสว ซึ่งทำให้ผลงานของเขามีกลิ่นอายความเป็น Sci-fi แถม Derry ยังรู้สึกตื่นเต้นเป็นที่สุด เมื่อฮ่องกงก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าในการยกระดับศิลปะรูปแบบใหม

“ฮ่องกงเฉลิมฉลองศิลปะและวัฒนธรรมเอเชียผ่านการปรับตัวของเทคโนโลยี ด้วยการบุกเบิกพื้นที่ศิลปะดิจิทัลผ่านการจัดนิทรรศการต่างๆ เช่น Digital Art Fair Asia ในเดือนกันยายน โดยสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นผู้ผลักดันศิลปะสาขานี้ด้วยการขับเคลื่อนศิลปะดิจิทัล ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค และจัดหาแพลตฟอร์มระดับโลกเพื่อให้ศิลปินได้เติบโต” Derry Ainsworth เสริม

Suhanya Raffel ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ M+ พิพิธภัณฑ์ทัศนศิลป์แห่งใหม่ของฮ่องกง คาดการณ์ว่าระบบนิเวศทางศิลปะของฮ่องกงจะเติบโตและขยายตัวออกไปในขอบเขตใหม่ๆ โดย M+ จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและพาฮ่องกงไปสู่การขยายตัวของนิเวศวิทยานี้

Suhanya Raffel ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ M+

เธอเสริมว่า “M+ ยังได้เจาะลึกศิลปะ NFT ท่ามกลางความนิยมที่เพิ่มขึ้นของเมตาเวิร์ส (Metaverse) ภัณฑารักษ์ของเราเริ่มสำรวจถึงความหมายและผลที่พวกเราจะได้รับในระยะยาวจากงาน NFT ที่มีความโดดเด่นมากขึ้น ฮ่องกงมีศักยภาพที่ดีในการเปลี่ยน NFT ให้กลายเป็นงานศิลปะรูปแบบใหม่ซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมของคอมมูนิตี้ที่ไม่ใช่แค่ในฮ่องกงเท่านั้น นับว่าเป็นการเปิดประตูสู่ประสบการณ์การรับชมที่แปลกใหม่สำหรับผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และนักสะสม”

ในขณะที่การลงทุนใน NFT เติบโตอย่างทวีคูณ ระบบนิเวศงานศิลปะต้องมีโซลูชันดิจิทัลที่ดีที่สุดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและนักสะสม พร้อมกับจัดหาแพลตฟอร์มให้แก่ศิลปินเพื่อแสดงผลงานของพวกเขา ด้วยการร่วมลงทุนจากภาครัฐ เอกชน รวมถึงการลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านศิลปะ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ฮ่องกงจึงพร้อมแล้วที่จะเป็นศูนย์กลางศิลปะดิจิทัลระดับโลก

สำนักงานสลากฯ เปิดตัว โครงการ SEED PROJECT ปี 4 ‘สร้างผู้นำเยาวชน พาท้องถิ่นสู่สากล’

พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือ จีแอลโอ เดิน...