Friday 29 March 2024 | 4 : 57 am

‘กรมการพัฒนาชุมชน’ จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ภูมิปัญญาด้านผ้าและเครื่องแต่งกาย สู่การเป็น Premium OTOP

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ให้เป็น Premium OTOP ผ่านกิจกรรมการสร้างการรับรู้ภูมิปัญญาผ้าและเครื่องแต่งกาย เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานโดยเน้นการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย ที่สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจาวัน ทุกเพศทุกวัยมีการพัฒนาคุณภาพเส้นใย สี และ Trend ให้ทันสมัย รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับนายวรงค์ แสงเมือง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น (พช.)ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ให้เป็น Premium OTOP ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าจากผู้ประกอบจำนวน 51 กลุ่มจากภาคอีสานและมีนิทรรศการโชว์ผ้าสวยงามจากฝีมือสมาชิกกลุ่ม OTOP ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประการด้านการทอผ้าในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง อย่างร้อยเอ็ด มุกดาหาร บึงกาฬ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ในวันงานยังมีการจัดกิจกรรม Focus Group และ Workshop ร่วมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ได้แก่ คุณธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ รองประธานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกและผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย บรรยายเรื่อง พระราชทานลายผ้า “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” และพระราชกรณียกิจด้านผ้าไทย ‘เรื่องความเป็นสากลของผ้าไทยเพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืน’ คุณจิรัฏฐ์ ทรัพย์พิศาลกุล ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบแบรนด์ Sanshai บรรยายเรื่อง ‘เทรนด์แฟชั่นและกลุ่มสีที่จะได้รับความนิยมในปี 2565’ คุณสธน ตันตราภรณ์ บรรยายเรื่อง ‘ภูมิปัญญาที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและคุณค่า’และ ‘กลุ่มสีแบบไทย (Thai Tone)’ คุณตะวัน ก้อนแก้ว บรรยายเรื่อง ‘การจัดวางผลิตภัณฑ์ในการถ่ายภาพและตกแต่งร้านค้า’ และ ‘ช่องทางการตลาดด้วยตัวเองผ่านโซเชียลมีเดีย’ คุณณัฐธิดา พละศักดิ์ อาจารย์คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี บรรยายเรื่อง ‘ภูมิปัญญาและเทคนิคการสร้างสรรค์ผืนผ้าแบบพื้นถิ่น’ คุณวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบแบรนด์ Wisharawish บรรยายเรื่อง ‘คุณภาพของเส้นใยที่ได้มาตรฐาน’ และ ‘เทรนด์แฟชั่นที่สนับสนุนการผลิตผ้าพื้นถิ่น’ ภายในงานยังมีการให้ผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยนและส่งผลงานเพื่อนำทูลเกล้าถวายฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ให้ทอดพระเนตรเป็นการต่อไป

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการและวิทยากรเป็นอย่างดี โดยมีการเว้นระยะห่างและมีการแบ่งกลุ่มย่อยในการทำกิจกรรม เพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการยังได้รับความรู้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ในช่วงเวลาวิกฤตโควิด-19 ที่ระบาดและเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านให้ทัดเทียมกับผลิตภัณฑ์ Premium ในต่างประเทศอีกด้วย